หลักของ Bernoulli :
Bernoulli กล่าวไว้ว่า ถ้าความเร็วของลม (หรือ ของไหล)เพิ่มขึ้น แรงกดอากาศจะลดลง
และตรงกันข้าม ถ้าความเร็วลดลง แรงกดอากาศจะเพิ่มขึ้น
Airfoil : เป็นคำอธิบายทางด้านเทคนิค หมายถึง ลักษณะรูปร่าง เช่น tail rotor blades ออกแบบมาเพื่อให้เกิด แรงปฏิกริยา จากอากาศที่มันเคลื่อนที่ผ่านไป
Angle of Attack : เป็นมุมแหลม ที่วัดระหว่าง chord ของ airfoil และ relative wind
Angle of Incidence : เป็นมุมแหลม ระหว่างเส้น chord line ของปีก และ แกน longitudinal axis ของตัวเครื่องบิน (โดยทั่วไป บริษัทผู้สร้างจะสร้างเครื่องที่มีปีก ที่มีมุมนี้อยู่ จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบ)
Tail rotor (ใบพัดหาง) เป็นใบพัดขนาดเล็ก อาจจะมีสอง หรือ สี่ ใบก็ได้ ซึ่ง ติดตั้งอยู่ที่ ส่วนหางของเฮลิคอปเตอร์ จะหมุนในแนวตั้ง
tail rotor จะบังคับโดยคันเหยียบที่นักบิน (rudder pedals) มุมของใบพัดเล็กนี้ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ตามที่นักบินต้องการ เพื่อบังคับให้เฮลิคอปเตอร์หันหัวไปตามทิศทางที่นักบินต้องการ
Blade Root : ปลายด้านใน หรือโคนใบพัด ( blades) ซึ่งยึดติดกับที่ยึดใบพัด( blade grips).
Blade Grips : ที่ยึดใบพัด ติดกับดุมจุดศุนย์กลาง.
Rotor Hub : อยู่บนยอดของ Shaft (เสากระโดง), และต่อกับใบพัดทั้งหมด โดย control tubes.
Main Rotor Mast : Shaft ที่หมุน โดยต่อมาจาก transmission และ ต่อชุดใบพัดกับลำตัวของเฮลิคอปเตอร์
Pitch Change Horn : เปลี่ยนการเคลื่อนไหวของ control tube ไปเปลี่ยนมุมของใบพัด
Control tube: เป็นท่อใช้ดึงและดัน เป็นการเปลี่ยนระยะทาง และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง มุมของใบพัดโดยผ่าน pitch changing horn ที่โคนใบพัด
Swash Plate Assembly : ชุด Swash Plate Assembly ประกอบด้วยส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนรวมผ่าน rotor mast
– ส่วนที่หนึ่ง เป็นแผ่นกลมต่อกับคันบังคับ cyclic pitch control แผ่นกลมนี้สามารถเอียงได้ทุกตำแหน่ง แต่จะไม่หมุนตามการหมุนของใบพัดใหญ่ (main rotor)
แผ่นกลมที่ไม่หมุนนี้มักจะเรียกว่า Stationary Star และติดกับแผ่นกลมอีกแผ่นโดยมี bearing surface อยู่ตรงกลาง
– แผ่นกลมอันที่สองนี้ เรียกว่า Rotating Star แผ่นนี้จะหมุนตาม rotor และต่อกับ pitch change horns.
Transmission : ระบบถ่ายทอดพลังงาน เป็นระบบทดรอบ โดยใช้ฟันเฟือง gears เป็นหลัก ทำหน้าที่ถ่ายทอดพลังงานหรือกำลังจากเครื่องยนต์ไปยัง
– ใบพัดหลัก (main rotor)
– ใบพัดที่หาง (tail rotor)
– เครื่องกำเหนิดไฟฟ้า (generator)
– อุปกรณ์อื่นๆ
เครื่องยนต์ทำงานที่ความเร็วรอบสูง แต่ความเร็วรอบของ main rotor (ใบพัดหลัก) จะทำงานที่รอบต่ำ ความเร็วรอบที่ลดลงก็ด้วย gears ทดรอบ ที่ Transmission System
Lift : แรงยกเกิดจากการสร้าง lower pressure ที่พื้นผิวด้านบนของปีกเครื่องบิน เมื่อเปรียบเทียบกับ high pressure ที่พื้นผิวด้านล่างของปีกเครื่องบิน จึงเป็นเหตุให้ปีกของเครื่องบินถูกยกขึ้น รูปล่างลักษณะพิเศษของปีก (airfoil) ที่ถูกออกแบบมาให้อากาศที่ไหลผ่านพื้นผิวด้านบน มีระยะทางที่มากกว่า ทำให้โมเลกุลของอากาศต้องเดินทางเร็วกว่าพื้นผิวด้านล่าง จึงทำให้ด้านบนเกิดเป็นบริเวณ lower pressure ที่มีแรงกดต่ำกว่า ดังนั้น จึงเกิดแรงยกขึ้น แรงยกเป็นแรงที่เกิดขึ้นตรงข้ามกับ แรงดึงดูดของโลก หรือ น้ำหนัก
แรงยกขึ้นอยู่กับ
– รูปร่าง ลักษณะ ของ airfoil
– มุมของปีก ที่กระทำกับลม relative wind
– บริเวณพื้นผิว หรือพื้นที่ ที่อากาศ หรือ ลม พัดผ่าน
– กำลังสองของความเร็วลม หรือความเร็วลม
– ความหนาแน่นของอากาศ.
Relative Wind : เป็นทิศทางของลมที่กระทำต่อปีกเครื่องบิน หรือ airfoil หรือ ใบพัดของเฮลิคอปเตอร์
Pitch Angle : มุมของใบพัดจะเป็นมุมแหลมที่กระทำระหว่าง Chord line ของใบพัดกับแนวระนาบการหมุนของใบพัด
มุม pitch angle สามารถปรับเปลี่ยนได้ขณะบิน โดยนักบิน (เฮลิคอปเตอร์) ด้วยการใช้คันบังคับในห้องนักบิน (collective and cyclic pitch control)
ที่มา : www.thaitechnics.com
——————————————-
Advance Aviation มีบริการเฮลิคอปเตอร์ทัวร์ไว้บริการด้วยนะคะ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเข้ามาได้นะครับ ที่: http://www.facebook.com/advanceaviation
ศูนย์ปฏิบัติการกทม.: fly@advanceaviation.co.th
Call Center: 085-055-4444
ศูนย์ปฏิบัติการภูเก็ต: phuket@advanceaviation.co.th
Call Center: 080-522-5555
ศูนย์ปฏิบัติการเชียงใหม่:chiangmai@advanceaviation.co.th
Call Center: 085-055-6666